การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

นโยบายคุกกี้

เมื่อท่านได้เข้าสู่เว็บไซต์ www.ocac.go.th , www.rcac84.com , www.ocacartfund.go.th หรือเว็บไซต์ภายใต้ Domain name .ocac.go.th ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่เว็บไชต์ ของท่านจะถูกบันทึกไว้ในรูปแบบของคุกกี้ โดยนโยบายคุกกี้นี้จะอธิบายถึงความหมายการทำงาน วัตถุประสงค์ รวมถึงการลบและการปฏิเสธการเก็บคุกกี้ เพื่อความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยการเข้าสู่เว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้... 

ตลอดเวลา

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของ

เว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้

เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

ไม่มีการวิเคราะห์

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรม

ร่วมสมัย รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์

และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้

จะส่งผลให้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

คลิกที่นี่เพื่อสนทนา Facebook Logo

สศร. วธ. โดยกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ร่วมรับชมผลงานศิลปะโครงการเล่นแร่แปรธาตุ : จากเรื่องเล่าสู่งานศิลปะ ซึ่งเป็น 1 ใน 34 โครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

วันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00 น. นางสาวศิริวัฒน์ แสนเสริม คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย นางสาวสมพร พานทอง ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย พร้อมด้วยข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ศูนย์เครือข่ายสัมพันธ์และแหล่งทุน เข้าร่วมรับชมผลงานศิลปะ ณ หอสมุดนิลเซนเฮส์

อาคารหอสมุดนิลเซนเฮส์ เป็นอาคารสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของสถาปนิกชาวอิตาลี Mario Tamagno สร้างอยู่บนพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ผ่านกาลเวลายาวนานกว่าหนึ่งร้อยปี เป็นจุดเริ่มต้นของการนำ “เรื่องเล่า” มาเป็นแรงบันดาลใจสู่ศิลปะแขนงอื่น โดยในปีนี้มีการจัดกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินศิลปาธร ศิลปินร่วมสมัย และนักศึกษา เมื่อวันที่ 6 และ 13 พฤษภาคม และนำมาจัดแสดง ณ หอสมุดนิลเซนเฮส์ กรุงเทพฯ

โครงการนี้ มุ่งให้เกิดผลลัพธ์ของการผสมผสานการออกแบบภาพประกอบและกราฟิกกับงานเซรามิค การผสมผสานศิลปกรรมหลากแขนง ได้แก่ สถาปัตยกรรม (Architecture), สิ่งทอ (Textiles), ภาพประกอบ (Illustration) และ การออกแบบตัวละคร (Character Design) โดย 5 ศิลปิน ได้แก่ นายฉัตรพงษ์ ชื่นฤดีมล จาก CHAT Architects นายจักรกฤษณ์ อนันตกุล จาก Hello iam JK นายปราชญ์ นิยมค้า จาก Mann Craft นายวาสิทธิ์ จินดาพร และนายภาคภูมิ นรังศิยา จาก WK. Studio

นอกจากสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยหลากหลายแขนงผ่านเรื่องเล่าแล้ว ยังเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยแก่เยาวชนผู้สนใจงานศิลปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างศิลปินในลักษณะศิลปะข้ามสาขา รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการสร้างเรื่องเล่าให้แก่สถานที่และสินค้าที่สร้างความน่าสนใจแก่การท่องเที่ยวและนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเสวนาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติกว่า 100 คน สร้างการรับรู้จากสื่อสังคมออนไลน์กว่า 300 คน เป็นการจุดประกายให้เกิดกระแสการผสมผสานของศิลปะร่วมสมัยหลากสาขาได้อย่างกลมกลืนและลงตัว

แชร์

ภาพกิจกรรมอื่นๆ