การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

นโยบายคุกกี้

เมื่อท่านได้เข้าสู่เว็บไซต์ www.ocac.go.th , www.rcac84.com , www.ocacartfund.go.th หรือเว็บไซต์ภายใต้ Domain name .ocac.go.th ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่เว็บไชต์ ของท่านจะถูกบันทึกไว้ในรูปแบบของคุกกี้ โดยนโยบายคุกกี้นี้จะอธิบายถึงความหมายการทำงาน วัตถุประสงค์ รวมถึงการลบและการปฏิเสธการเก็บคุกกี้ เพื่อความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยการเข้าสู่เว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้... 

ตลอดเวลา

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของ

เว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้

เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

ไม่มีการวิเคราะห์

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรม

ร่วมสมัย รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์

และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้

จะส่งผลให้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

คลิกที่นี่เพื่อสนทนา Facebook Logo

สศร. ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ จัดเทศกาลศิลปะร่วมสมัยลุ่มแม่น้ำโขง“นาคา” ศิลปะร่วมสมัยแห่งบึงกาฬ “Contemporary Art Naka of Buengkan ณ พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตจังหวัดบึงกาฬ ตำบลหนองพันทา อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2567 เวลา 13.00 น. ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย มอบหมายให้นางสาวสุวิมล วิมลกาญจนา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายสัมพันธ์และแหล่งทุน เป็นผู้แทนเข้าร่วมพิธีเปิดโครงการเทศกาลศิลปะร่วมสมัยลุ่มแม่น้ำโขง” จังหวัดบึงกาฬ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ร่วมด้วยนางพัชรนันท์ แก้วจินดา วัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด ภาครัฐ ภาคเอกชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนชาวโซ่พิสัย โดยผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬมอบหมายให้ผศ. ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นประธานในพิธี ในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจเช่น Work Shop การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน การเพนท์สีนาคกี้ mini size การพิมพ์ลายผ้าจากสีธรรมชาติ (ECO Print) สาธิตอาหารพื้นบ้าน “ข้าวจี่ 2 สหาย” ขนมงานบุญ “ข้าวต้มผัดไส้กล้วย” และการเสวนาวิชาการ หัวข้อ “จาก Local สู่ เลอค่า ศิลปะสร้างเม็ดเงิน” ในการนี้นางสาวสุวิมล วิมลกาญจนา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายสัมพันธ์และแหล่งทุน ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาดังกล่าวด้วย

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ และพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตจังหวัดบึงกาฬ โดยนาย สุทธิพงษ์ สุริยะ หรือ “อาจารย์ขาบ” ภายใต้กรอบการดำเนินงานโครงการเทศกาลศิลปะร่วมสมัยลุ่มแม่น้ำโขง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเสริมสร้างอัตลักษณ์ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยร่วมกับศิลปินและองค์กรภาคีเครือข่ายศิลปะร่วมสมัยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยใช้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ต่อยอดภูมิปัญญา ผสานการนำนวัตกรรมมาผนวกด้วยความคิดสร้างสรรค์เกิดเป็นผลงานของชุมชนที่มีความร่วมสมัย มีคุณค่าทางจิตใจและมีมูลค่าในเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ดังแนวคิด “จาก Local สู่ เลอค่า”

แชร์