การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

นโยบายคุกกี้

เมื่อท่านได้เข้าสู่เว็บไซต์ www.ocac.go.th , www.rcac84.com , www.ocacartfund.go.th หรือเว็บไซต์ภายใต้ Domain name .ocac.go.th ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่เว็บไชต์ ของท่านจะถูกบันทึกไว้ในรูปแบบของคุกกี้ โดยนโยบายคุกกี้นี้จะอธิบายถึงความหมายการทำงาน วัตถุประสงค์ รวมถึงการลบและการปฏิเสธการเก็บคุกกี้ เพื่อความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยการเข้าสู่เว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้... 

ตลอดเวลา

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของ

เว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้

เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

ไม่มีการวิเคราะห์

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรม

ร่วมสมัย รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์

และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้

จะส่งผลให้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

คลิกที่นี่เพื่อสนทนา Facebook Logo

“Journey Through the Lens” งานนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ครั้งแรกในระดับนานาชาติ ณ Leica Gallery Frankfurt ประเทศเยอรมนี

เมืองเวทซ์ลาร์, 28 มิถุนายน 2567 Leica Gallery Frankfurt จัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย ฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ภายใต้ชื่อ “Journey Through the Lens” ในระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน-วันที่ 17 สิงหาคม 2567 โดยนิทรรศการจัดแสดงภาพถ่ายนำเสนอให้ผู้ชมเข้าใจผลงานของพระองค์ท่านได้อย่างลึกซึ้ง พระอัจฉริยะภาพแห่งการถ่ายภาพในห้วงขณะเวลาที่เป็นธรรมชาติ แต่มีความโดดเด่นน่าสนใจ ถักทอเรื่องราวผ่านเทคนิคแสงและเงาได้อย่างชำนาญ เสมือนทรงบันทึกความประทับใจหลากมุมมองอันพิถีพิถัน ในระหว่างทรงเดินทางท่องเที่ยวธรรมชาติ

ภาพถ่ายทั้งหมดมากกว่า 60 ภาพ ที่จัดแสดงภายใน Leica Gallery Frankfurt สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงถ่ายด้วยกล้องไลก้า ซึ่งกล้องไลก้าได้กลายเป็นเพื่อนร่วมเดินทางที่ซื่อสัตย์ขององค์ศิลปิน ตั้งแต่ที่ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเคนยา เมื่อปี 2562 ท่านได้ทรงบันทึกความสวยงามของธรรมชาติ ผ่านมุมมองที่มีเอกลักษณ์ รวมถึงจุดหมายปลายทางอันน่าตื่นตาตื่นใจมากมาย อาทิ มนต์เสน่ห์ที่ไม่เคยจางหายของกรุงไคโรและแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ เมืองเวนิสอันโรแมนติคน่าหลงใหล ตลอดจนทิวทัศน์อันงดงามของไทย อย่างแก่งสามพันโบกในจังหวัดอุบลราชธานี จนถึงผลงานภาพถ่ายโฆษณาของคอลเลกชันแฟชั่นประจำฤดูกาลแห่งแบรนด์ SIRIVANNAVARI

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในฐานะองค์ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานในนิทรรศการนี้ ทรงตรัสว่า “การถ่ายภาพ ทำให้เราหวนนึกถึงกิจกรรมที่ครอบครัวของเราชื่นชอบ นับตั้งแต่เสด็จปู่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ท่านทรงโปรดการถ่ายภาพ ต่อมาช่วงตอนเรียนชั้นมัธยมปลาย เราได้เริ่มเรียนรู้ด้านการถ่ายภาพ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ผลักดันให้เรามีความสนใจเรื่องการถ่ายภาพเป็นอย่างยิ่ง คือเมื่อได้ทำโปรเจ็กต์ชุดชั้นใน ระดมทุนให้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและจัดซื้อรถตรวจแมมโมแกรมในประเทศไทย งานนั้นเรามีโอกาสได้ถ่ายภาพแคมเปญเพื่อโปรโมทกิจกรรม เลยได้ทำงานด้วยกล้องถ่ายภาพหลายรุ่นที่ไม่เคยใช้มาก่อน และตั้งแต่นั้นมา เราก็ได้ค้นพบตัวเอง และอยากถ่ายภาพต่อไป”

องค์ศิลปิน ทรงตรัสถึงผลงานภาพถ่ายเพิ่มเติมว่า “โดยส่วนตัว เราชื่นชอบการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ สถาปัตยกรรม หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ให้ความรู้สึกตามความเป็นจริง โดยเฉพาะภาพถ่ายขาวดำ ที่บอกเล่าเรื่องราวได้อย่างแท้จริง ว่าอะไรเกิดขึ้นในสถานที่นั้นๆ เราเริ่มใช้กล้องรุ่น Leica Q ถ่ายภาพเป็นครั้งแรก เมื่อตอนเดินทางไปประเทศเคนย่า ได้ภาพเยอะมาก จากนั้นก็ยังนำกล้องรุ่นนี้ไปถ่ายภาพทิวทัศน์ของสามพันโบก ที่อุบลราชธานี ส่วนภาพถ่ายที่เมืองเวนิซ เป็นกล้อง Leica MP และสำหรับทริปที่อียิปต์ เราใช้กล้องหลายตัว ทั้ง Leica SL2 และ Leica M11 เพราะอยากได้ภาพที่คลาสสิคขึ้นมาอีกนิด อย่างช่วงพระอาทิตย์ตก และแม่น้ำไนล์ ก็เลยติดกล้องฟิล์ม Leica MP ไปด้วย”

นอกจากภาพทิวทัศน์แล้ว ภาพส่วนหนึ่งในนิทรรศการ ยังเป็นภาพถ่ายแฟชั่นของแบรนด์ SIRIVANNAVARI ที่พระองค์ท่านทรงเป็นผู้ก่อตั้งและอำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ ซึ่งผลงานทรงออกแบบเสื้อผ้าประจำฤดูกาลในแต่ละคอลเลกชัน ก็สะท้อนกลิ่นอายแห่งการเดินทาง และศิลปวัฒนธรรมจากเมืองต่างๆ หลายมุมของโลกเช่นเดียวกัน

นิทรรศการภาพถ่าย “Journey Through the Lens” จัดแสดงระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 17 สิงหาคม 2567 ณ Leica Gallery Frankfurt (เลขที่ 15 ถนนเฮียร์ชกราเบิน) เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เปิดวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00 -19.00 น. วันเสาร์ เวลา 10.00-17.00 น. สามารถเข้าชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และภาพถ่ายจากนิทรรศการทั้งหมด ได้ถูกจัดพิมพ์เป็นหนังสือภาพ (photobook) วางจำหน่ายภายในงานนิทรรศการ และร้าน Leica Store กรุงเทพฯ อีกด้วย

เกี่ยวกับองค์ศิลปิน
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงเป็นองค์ศิลปินผู้มีพระอัจฉริยะภาพหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านแฟชั่น ศิลปะ ดนตรี กีฬาและการถ่ายภาพ หลังจากที่ทรงสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย ทรงได้เข้ารับการศึกษาต่อ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ต่อมาภายหลังได้ทรงเข้ารับการศึกษา ณ วิทยาลัยสมาคมการออกแบบเสื้อผ้าปารีส (École de la Chambre Syndicale de la Couture Parisienne in Paris) ปัจจุบันพระองค์ทรงเป็นพระอาจารย์พิเศษ คณะศิลปกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทรงเป็นองค์ดีไซเนอร์และผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ แห่แบรนด์ SIRIVANNAVARI ทั้งนี้ องค์ศิลปิน ได้รับทูลเชิญจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ เป็นครั้งแรก ณ Leica Gallery Bangkok เมื่อปี พ.ศ. 2562

เกี่ยวกับไลก้า
ไลก้า คาเมรา เอจี (Leica Camera AG) ผู้ผลิตกล้องถ่ายภาพและเลนส์ทางการกีฬาต่างๆ ที่มีคุณภาพสูงระดับโลก ชื่อเสียงของแบรนด์ไลก้า สะท้อนคุณภาพอันยาวนาน ทักษะงานฝีมือแห่งประเทศเยอรมนี การออกแบบเชิงอุตสาหกรรมที่ผสมผสานเทคโนโลยีอันนำสมัย โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือเทคโนโลยีอันหลากหลายของบริษัทฯ เพื่อสนับสนุนการถ่ายภาพ โดยรวมถึงการดูแลบริหาร Leica Gallery ทั่วโลก, Leica Academy และ Leica Hall of Fame Award และโดยฉพาะอย่างยิ่ง Leica Oskar Barnack Award (LOBA) ที่ปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นรางวัลส่งเสริมการถ่ายภาพที่สร้างสรรค์ที่สุด ไลก้า คาเมรา เอจี มีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่เมืองเวทซ์ลาร์ รัฐเฮสเซิน และโรงงานผลิตแห่งที่สองตั้งอยู่ที่เมืองวิลา โนวา ฟามาลิเคา ประเทศโปรตุเกส และยังมีเครือข่ายบริษัทประจำประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้ง ร้านจัดจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์ค้าปลีกไลก้าจำนวนมาก https://leica-camera.com/…/journey-through-lens-srh…

https://berlin.thaiembassy.org/de/content/leica-2…

แชร์