คลิกที่นี่เพื่อสนทนา Facebook Logo

บทความ

ฟู้ดสไตลิสต์ (Food Stylist) อาจไม่ใช่คำใหม่ สำหรับคนไทยอีกต่อไป เพราะในปัจจุบัน ฟู้ดสไตลิสต์ คือตัวแปรสำคัญ ในเทรนด์การบริโภคอาหารจานสวย ท่ามกลางกระแสความนิยมที่กำลังพุ่งสูงขึ้น ในโลกการแข่งขันของธุรกิจด้านอาหาร

#ร่วมสมัยวันละคำ

ฟู้ดสไตลิสต์ (Food Stylist) อาจไม่ใช่คำใหม่ สำหรับคนไทยอีกต่อไป เพราะในปัจจุบัน ฟู้ดสไตลิสต์ คือตัวแปรสำคัญ ในเทรนด์การบริโภคอาหารจานสวย ท่ามกลางกระแสความนิยมที่กำลังพุ่งสูงขึ้น ในโลกการแข่งขันของธุรกิจด้านอาหาร ฟู๊ดไสตลิสต์ (Food Stylist) ในมุมที่คุณพัชรพรรณพงศ์ กินาวงศ์ หรือคุณแตงโม ทำอยู่ในขณะนี้ เป็นงานที่มีพัฒนาการควบคู่กันไปกับงานออกแบบเพื่อส่งเสริมการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงราย ซึ่งฟู้ดสไตลิสต์ในมุมมองของคุณพัชรพรรณพงศ์ คือการยกระดับผลิตภัณฑ์ทางด้านอาหารหรือ ผลิตภัณฑ์ทางด้านการบริโภค ให้ดูมีความร่วมสมัยจาก Local ไปสู่ เลอค่า โดยได้รับแรงบันดาลใจที่ซึบซับจากรสมือที่แสนอร่อยในการปรุงอาหารล้านนา จากคุณย่า คุณแม่และพี่สาว

จุดเริ่มต้นจากต้นทุนที่เป็นศูนย์ โดยเริ่มมองหาวัตถุดิบ เช่น ผัก และสมุนไพรพื้นบ้านต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว นำมายกระดับตกแต่งอาหารจานอร่อย เพื่อเพิ่มคุณค่าทางใจให้ผู้บริโภคได้เสพงานศิลป์ในวิถีวัฒนธรรมของการบริโภคอาหารแบบล้านนาอย่างเข้าใจมากขึ้น เช่น เมนูน้ำพริกอ่อง เมื่อนำศิลปะเข้าไปช่วยในการจัดวาง โดยการเลือกรูปทรงและองค์ประกอบสีของผักต่างๆตามฤดูกาล ให้ดูร่วมสมัย น้ำพริกอ่องจานนี้ ก็จะน่าหยิบจับ น่ารับประทานและดูมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ส่วน น้ำพริกตาแดง ซึ่งสีสันจัดจ้านรสชาติเผ็ดร้อน ควรเลือกผักเครื่องเคียงที่มีสีโทนเย็นเข้ามาผสม เช่น ดอกอัญชัน ดอกขจร ผักกาดขาว แตงกวา ขมิ้นขาว ถั่วพลูหรือผักพื้นบ้านโทนสีเขียว สีเหลืองก็จะช่วยดึงดูดสายตา ทำให้อาหารจานนั้นน่าสนใจ และชวนรับประทานมากขึ้น

ประสบการณ์เรื่องการเลือกใช้ผักส่วนหนึ่งนั้นได้รับการบ่มเพาะจากการเป็นผู้ช่วยพี่สาวที่ร้าน มาลองเต๊อะ ในจังหวัดเชียงราย ซึ่งใช้ผักออร์แกนิกที่ร้านปลูกเอง เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมี “เพราะสิ่งสำคัญที่สุดของงาน ฟู๊ดสไตลิสต์คือ ความสะอาดและปลอดภัย สำหรับผู้บริโภค” ในอนาคตคุณพัชรพรรณพงศ์ มองว่า การนำความเข้าใจในบริบทของสิ่งที่มีอยู่รอบตัวมาปรับใช้ให้เข้ากับรสนิยมของผู้บริโภค เป็นสิ่งสำคัญที่เป็นตัวกำหนดทิศทางการทำงาน ทั้งในด้านงานออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้า งานออกแบบผลิตภัณฑ์และอาหาร เพื่อเผยแพร่อัตลักษณ์ความเป็นไทยออกไปสู่สากล เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับรสสัมผัสกับอาหารล้านนาที่มีคุณค่ามากกว่าความอร่อย ด้วยการนำศิลปะเข้ามาช่วยกันยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพ ในสายตาชาวโลกต่อไป

“ฟู้ดสไตลิสต์” ที่ดี จึงอาจไม่ใช่คนทำอาหารเก่ง แต่ต้องเป็นคนที่รักในการทำอาหาร และเข้าใจในธรรมชาติของวัตถุดิบ เรียนรู้วิธีการปรุงให้แตกต่าง อย่างสร้างสรรค์ กลมกลืนและพิถีพิถันในรายละเอียด”

#ติดตามชมรายการเพลินศิลป์ร่วมสมัย ตอน Food Stylist โดย คุณพัชรพรรณพงศ์ กินาวงศ์ ทางแฟนเพจเฟซบุ๊ก สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย 28 สิงหาคม 2563 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป

ขอบคุณข้อมูลจาก Patchara.brand/ มาลองเต๊อะเชียงราย


แชร์

บทความอื่นๆ

การท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษด้านต้นทุนทางวัฒนธรรม โดย ชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย

ลายบาติกร่วมสมัย ต่อยอด “ลมหายใจแห่งศิลปะบนผืนผ้า” เสน่ห์จากงานศิลปะบน ผืนผ้าอันเกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในแต่ละท้องถิ่น มีแบบอย่างให้ชื่นชมอย่างตระการตา

Typography (ไทโปกราฟี่) คำนี้มีความหมายอย่างยิ่ง สำหรับวงการออกแบบ จากประสบการณ์ ของ ไพโรจน์ ธีระประภา ศิลปาธรสาขา เรขศิลป์ ประจำปี 2557

ฟู้ดสไตลิสต์ (Food Stylist) อาจไม่ใช่คำใหม่ สำหรับคนไทยอีกต่อไป เพราะในปัจจุบัน ฟู้ดสไตลิสต์ คือตัวแปรสำคัญ ในเทรนด์การบริโภคอาหารจานสวย ท่ามกลางกระแสความนิยมที่กำลังพุ่งสูงขึ้น ในโลกการแข่งขันของธุรกิจด้านอาหาร