คลิกที่นี่เพื่อสนทนา Facebook Logo

บทความ

การท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษด้านต้นทุนทางวัฒนธรรม โดย ชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย

#เล่าเรื่องร่วมสมัย

การท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษด้านต้นทุนทางวัฒนธรรม โดย ชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย เมื่อเร็วๆนี้ ทางสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษด้วยต้นทุนทางวัฒนธรรม ระหว่างสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน โดยมี นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานในพิธี โดยในงานมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดชลบุรี ระยอง สุโขทัย และเชียงราย มาร่วมจัดแสดงนิทรรศการผลงาน ทำให้ได้รู้จักกับกาแฟมะพร้าวของดีของชาวชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจากจังหวัดชลบุรี ที่โดดเด่นเรื่องในการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยใช้มะพร้าว ซึ่งเป็น อัตลักษณ์ของชุมชนสร้างสรรค์เส้นทางการท่องเที่ยววิถีมะพร้าวได้อย่างน่าสนใจ โดยคุณณัฐกานต์ ประกอบธรรม (เกศ) และคุณ ดารณี (แหวว) โรจน์สกุลพานิช กล่าวว่า ชุมชนเริ่มทำกิจกรรมท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมภายในชุมชนตั้งแต่ปี 2555 โดยเริ่มจากบ้าน100 เสา ต่อมาในปี 2559 เริ่มขยายไปสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายในชุมชน โดยเริ่มจากเวลคัมดริ้งค์ ด้วยกาแฟมะพร้าวสูตรพิเศษที่คิดค้นจนได้รสชาติกลมกล่อมลงตัว จากนั้นจึงพานักท่องเที่ยวไปทัวร์ตามสวนมะพร้าว เพื่อชมการแปรรูปผลผลิตจากมะพร้าว ตอนกลางวันรับประทานเมนูแกงไก่กะลา เมนูขึ้นชื่อของชุมชนตะเคียนเตี้ย พร้อมด้วยน้ำมะพร้าวสด สำหรับเมนูกาแฟมะพร้าวนั้น ได้รับแรงบันดาลใจ จากการสนับสนุนขององค์การบริหารและพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.)และสำนักงานศิลปวัฒนธรรรมร่วมสมัย (สศร.)กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ลงพื้นที่มาให้คำแนะนำต่างๆ จากนั้นจึงเริ่มทดลองทำกาแฟมะพร้าว โดยใช้กะทิสดเป็นส่วนผสม ทำให้มีรสชาติกลมกล่อมนุ่มละมุนไม่เหมือนใคร กลายเป็นซิกเนเจอร์ของชุมชน ซึ่งเน้นจุดขายความเป็นชุมชนมะพร้าว

จุดเด่นของชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย คือความสดใหม่ของวัตถุดิบ หากเป็นไปได้ก็จะปอกเปลือกและคั้นกะทิสดภายในวันนั้นเลย เรียกได้ว่าถ้าจับเวลาตั้งแต่การแปรรูป ปรุงสดไปจนถึงพร้อมเสิร์ฟ ต้องไม่เกิน 3 ชั่วโมง เพราะเวลาและอุณหภูมิจะทำให้รสชาติเปลี่ยน เนื่องจากมะพร้าวของที่นี่เป็นมะพร้าวอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงในการปลูก น้ำมะพร้าวจึงมีคุณสมบัติหอมหวาน แต่ต้องอาศัยความชำนาญในการเลือกลูกมะพร้าวที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไปนัก ปัจจุบันมีผู้สนใจเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ยเพิ่มมากขึ้น โดยก่อนหน้านี้จะรับจองทัวร์ท่องเที่ยววิถีมะพร้าว แต่ปัจจุบันผู้สนใจสามารถเดินทางมาเที่ยวชมและดื่มกาแฟมะพร้าวสูตรชุมชนตะเคียนเตี้ย ได้ทั้งวันเสาร์และ อาทิตย์ที่
ร้านกาแฟของชุมชน

สนใจติดตามข้อมูลและเช็คพิกัดชุมชนได้ที่ www.chumchontakiantia.com / เฟซบุ๊กสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และเฟซบุ๊ก ชุมชนตะเคียนเตี้ย

แชร์

บทความอื่นๆ

คลิปอาร์ต (Clip art) เป็นคำสากลที่รู้จักกันดีในแวดวงกราฟิก

ลายบาติกร่วมสมัย ต่อยอด “ลมหายใจแห่งศิลปะบนผืนผ้า” เสน่ห์จากงานศิลปะบน ผืนผ้าอันเกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในแต่ละท้องถิ่น มีแบบอย่างให้ชื่นชมอย่างตระการตา

ฟู้ดสไตลิสต์ (Food Stylist) อาจไม่ใช่คำใหม่ สำหรับคนไทยอีกต่อไป เพราะในปัจจุบัน ฟู้ดสไตลิสต์ คือตัวแปรสำคัญ ในเทรนด์การบริโภคอาหารจานสวย ท่ามกลางกระแสความนิยมที่กำลังพุ่งสูงขึ้น ในโลกการแข่งขันของธุรกิจด้านอาหาร

เรื่องสั้น ในทัศนะของ ขจรฤทธิ์ รักษา ศิลปินศิลปาธร ประจำปี 2551