คลิกที่นี่เพื่อสนทนา Facebook Logo

บทความ

Typography (ไทโปกราฟี่) คำนี้มีความหมายอย่างยิ่ง สำหรับวงการออกแบบ จากประสบการณ์ ของ ไพโรจน์ ธีระประภา ศิลปาธรสาขา เรขศิลป์ ประจำปี 2557

#ร่วมสมัยวันละคำ

Typography (ไทโปกราฟี่) คำนี้มีความหมายอย่างยิ่ง สำหรับวงการออกแบบ จากประสบการณ์ ของ ไพโรจน์ ธีระประภา ศิลปาธรสาขาเรขศิลป์ ประจำปี 2557 กล่าวว่า Typography เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกของงานนั้นๆ เป็นการสื่อสารโดยการใช้ตัวอักษรเข้ามาเป็นเครื่องมือ ช่วยให้เราเลือก ใช้ฟอนต์ (ซึ่งในยุคปัจจุบัน ฟอนต์ (Font) คือ ตัวพิมพ์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ทางแป้นพิมพ์ดีดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีพัฒนาการตามเทคโนโลยี) ซึ่งสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เหมาะสมกับอารมณ์ความรู้สึกของงาน ให้ดูสวยงามในสิ่งที่ควรจะเป็น เช่น เมื่อตัวอักษรอยู่ในแวดล้อมของบรรยากาศชนิดหนึ่ง ก็ควรที่จะงามกลมกลืนกับบรรยากาศชนิดนั้น เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องของงานศิลปะ และเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะร่วมสมัย เพราะไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบันเราก็ยังมีใช้ตัวอักษร เราขาดตัวอักษรไม่ได้ ตัวอักษรคือเครื่องมือสื่อสารที่จำเป็นที่สุด ง่ายที่สุด และสะดวกที่สุด เพราะเรามีตัวหนังสือ เรามีภาษา การออกแบบการสื่อสารโดยใช้ตัวอักษรเป็นเครื่องมือ มีตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายและใกล้ตัวเราที่สุด คือ ป้ายแนะนำสถานที่ การเดินทาง ป้ายบอกทาง ฯลฯ เหล่านี้ควรมีการออกแบบ ให้สั้น กระชับ อ่านง่าย ไม่รบกวนสายตาเพราะจะเป็นการลดทอนประสิทธิภาพในการสื่อสารลงไป

นอกจากนี้ ตัวอักษรยังสามารถนำมาใช้ในการออกแบบอัตลักษณ์ได้ โดย นำตัวอักษรมาออกแบบเป็นตัวแทนของบุคคล ในลักษณะของชื่อย่อ สมัยโบราณนิยมใช้กับขุนนาง และราชนิกูล เช่น ตราประจำตระกูล และตราประจำพระองค์ของพระมหากษัตริย์ เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าไม่ว่าจะใช้ตัวอักษรออกแบบให้ใครก็จะต้องทำการออกแบบให้สมกับสถานะ เพื่อสะท้อนอัตลักษณ์หรือตัวตนของบุคคลนั้นๆ อย่างชัดเจนและงดงาม สมมติว่าเราจะต้องออกแบบชื่อที่สะท้อนความเป็นตัวตนของชุมชนแห่งหนึ่ง เช่นชุมชนตลาดเก้าห้อง คำว่าตลาด เราจะเลือกทำแบบหรูหรา สนุกสนาน หรือเคร่งขรึมเก่าแก่ ก็ได้แต่ต้องเกี่ยวข้องกับตัวตนของชุมชนนั้น ตัวอย่าง กิจกรรมที่ลงพื้นที่เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ของชุมชนที่ผ่านมา ก็ใช้วิธีเดียวกัน โดยเราจะต้องรู้จักและเข้าใจในบุคคลนั้น องค์กรนั้น ชุมชนนั้น ในที่แห่งนั้น โดยการเก็บข้อมูล หรือไปใช้ชีวิตที่นั่น ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลเชิงลึก ด้านอารมณ์ความรู้สึก เพื่อให้นักออกแบบสามารถถ่ายทอดออกมาได้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เช่น การออกแบบโรงแรมที่ริมแม่น้ำโขง เจ้าของโรงแรมผูกพันกับสปป.ลาวมาตั้งแต่เด็ก จึงอยากได้ความรู้สึกนั้นลงไปในตัวอักษรด้วย ดังนั้นการออกแบบ โลโก้ไทป์ของชื่อโรงแรมจึงสะท้อนความเป็นสสป.ลาวเข้าไป โดยการเดินทางไปที่สปป.ลาว เพื่อซึมซับความรู้สึกในสิ่งที่เจ้าของโรงแรมต้องการ เป็นการเก็บข้อมูลในเชิงลึกของนักออกแบบที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป

ติดตามเรื่องราวดี ๆ ของการทำงานเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ฟอนต์ไทย โดย อาจารย์ไพโรจน์ ธีระประภา ผู้ออกแบบชุดตัวอักษร ตระกูล SR หนึ่งในทีม Ziem Life ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์โครงการ 100 แรงบันดาลไทย ได้ในรายการ เพลินศิลป์ร่วมสมัย ชุดความรู้กราฟิกดีไซน์ ในชีวิตประจำวัน ตอน Hand Lettring คัด ตัด ตวัด วาด ในวันที่ 25 สิงหาคม 2563 เวลา 13.00 น. ทางเฟซบุ๊ก และ Youtube สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

แชร์

บทความอื่นๆ

จากทุนทางวัฒนธรรมสู่ อัตลักษณ์ปลวกแดง “อุตสาหกรรมก้าวไกล อ่างใหญ่อู่น้ำ หวานฉ่ำสับปะรด งดงามประเพณี พันธุ์ดียางพารา ศรัทธาหลวงพ่อโพธิ์”

ลายบาติกร่วมสมัย ต่อยอด “ลมหายใจแห่งศิลปะบนผืนผ้า” เสน่ห์จากงานศิลปะบนผืนผ้าอันเกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในแต่ละท้องถิ่น

“เที่ยวหอศิลป์ร่วมสมัยฯ วิถีใหม่ แบบ 360 องศา” หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน Ratchadamnoen Contemporary Art Center

การท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษด้านต้นทุนทางวัฒนธรรม โดย ชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย