คลิกที่นี่เพื่อสนทนา Facebook Logo

บทความ

เรื่องสั้น ในทัศนะของ ขจรฤทธิ์ รักษา ศิลปินศิลปาธร ประจำปี 2551

#ร่วมสมัยวันละคำ

เรื่องสั้น ในทัศนะของ ขจรฤทธิ์ รักษา ศิลปินศิลปาธร ประจำปี 2551 “เรื่องสั้น ต้องมีตัวละครไม่เกิน 3-5 ตัว มีฉาก มีบรรยากาศ มีความรู้สึก สิ่งสำคัญคือวิธีการเล่าเรื่อง อยากเป็นนักเขียนเรื่องสั้นก็ต้องอ่านเรื่องสั้นให้มาก เรียนรู้เทคนิคของการเขียนเรื่องสั้น ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเขียนจดหมาย การเล่าเรื่องตามขนบ การใช้กระแสสำนึก เป็นต้น ในมุมของการอ่านนั้น อาจใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 30-55 นาที ก็อ่านจบ แต่สิ่งสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในใจ เช่น ความสะเทือนใจ ความซาบซึ้งใจ ความสุข ความปีติ หัวเราะหรือร้องไห้ ไม่เหมือนกับนิยายที่เราต้องใช้เวลายาวนานกว่า ตัวละครเยอะกว่า มีรายละเอียดที่ให้เราจดจำเป็นจำนวนมากกว่า

เรื่องสั้นที่ดีจึงต้องสามามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในใจ เช่นความรู้สึกความประทับใจ ตราตรึงใจ หรือทำให้เราครุ่นคิดอยู่กับมันสักห้วงระยะเวลาหนึ่งเช่น เรื่องสั้น “มอม” ของหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช “มอม” เป็นความประทับใจ เกี่ยวกับเจ้าของที่ไปรบในสงคราม ซึ่งทิ้งสุนัขเอาไว้ พอกลับมา สุนัขก็ยังจำเขาได้ นี่คือความประทับใจในความรักและซื่อสัตย์ของสุนัขที่ได้จากการอ่านเรื่องสั้นเรื่องนี้ ส่วนเรื่อง “สนามฟุตบอลนี้…ของเรา” โดย คุณอัศศิริ ธรรมโชติ ซึ่งเป็นเรื่องสั้นที่อยู่ในความทรงจำ เกี่ยวกับครูผู้เสียสละเพื่อสร้างสนามฟุตบอลให้นักเรียน แต่ก็มาถูกยิงตายด้วยพ่อค้าไม้ผู้มีอิทธิพล เรื่องสั้นนั้น มีพลานุภาพมาก ถือเป็นการสร้างงานศิลปะอย่างหนึ่ง ผ่านการกระบวนการรับรู้จนกลายเป็นความซาบซึ้ง ประทับใจ ดังนั้นคนเขียนเรื่องสั้นที่ดีจึงต้องฝึกฝนตนเอง โดยเริ่มจากการอ่านและเขียนบ่อยๆ ซึ่งนักเขียนเรื่องสั้นที่เก่งๆในบ้านเรามีมากมาย เช่น หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช มนัส จรรยงค์ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ส่วนนักเขียนเรื่องสั้นในยุคต่อมา ได้แก่ สถาพร ศรีสัจจัง, จำลอง ฝั่งชลจิตร, ชาติ กอบจิตติ, วัฒน์ วรรลยางกูร เป็นต้น แม้ว่าปัจจุบันโลกสมัยใหม่จะทำให้เยาวชนติดตามกระแสโซเชียลเป็นหลัก แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่มีพลานุภาพเท่ากับหนังสือ เพราะเวลาที่พ่อแม่สอนให้เด็กทำอะไร ก็มักไม่ค่อยมีใครทำตาม ผิดกับหนังสือบางเล่มที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราได้ อย่างเช่น หนังสือเรื่องการจัดบ้านแบบ New Normal หนังสือ “อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป” ของ ซะซะกิ ฟูมิโอะ ซึ่งกลายเป็นเทรนใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เมื่ออ่านแล้วทำให้เราอยากมีของในบ้านให้น้อยที่สุด ล่าสุดในงานนิทรรศการหนังสือ ABC ที่สยามมิตรทาวน์ มีคนไปซื้อหนังสือแน่นทุกวัน โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่น ที่ใครๆก็คิดว่าติดโซเชียล เล่นแต่เกม เยาวชนเหล่านั้นพากันไปซื้อหนังสือเป็นจำนวนมาก หนังสือจึงเป็นความพิเศษที่จับต้องได้ เป็นสิ่งสะสมได้และบอกรสนิยม ว่า “คน ๆ นั้นเป็นอย่างไร ให้ดูจากหนังสือที่เขาอ่าน”

แชร์

บทความอื่นๆ

ลายบาติกร่วมสมัย ต่อยอด “ลมหายใจแห่งศิลปะบนผืนผ้า” เสน่ห์จากงานศิลปะบน ผืนผ้าอันเกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในแต่ละท้องถิ่น มีแบบอย่างให้ชื่นชมอย่างตระการตา

ลายบาติกร่วมสมัย ต่อยอด “ลมหายใจแห่งศิลปะบนผืนผ้า” เสน่ห์จากงานศิลปะบนผืนผ้าอันเกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในแต่ละท้องถิ่น

Typography (ไทโปกราฟี่) คำนี้มีความหมายอย่างยิ่ง สำหรับวงการออกแบบ จากประสบการณ์ ของ ไพโรจน์ ธีระประภา ศิลปาธรสาขา เรขศิลป์ ประจำปี 2557

คลิปอาร์ต (Clip art) เป็นคำสากลที่รู้จักกันดีในแวดวงกราฟิก