การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

นโยบายคุกกี้

เมื่อท่านได้เข้าสู่เว็บไซต์ www.ocac.go.th , www.rcac84.com , www.ocacartfund.go.th หรือเว็บไซต์ภายใต้ Domain name .ocac.go.th ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่เว็บไชต์ ของท่านจะถูกบันทึกไว้ในรูปแบบของคุกกี้ โดยนโยบายคุกกี้นี้จะอธิบายถึงความหมายการทำงาน วัตถุประสงค์ รวมถึงการลบและการปฏิเสธการเก็บคุกกี้ เพื่อความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยการเข้าสู่เว็บไซต์นี้ถือว่าท่านได้อนุญาตให้เราใช้คุกกี้ตามนโยบายคุกกี้ที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้... 

ตลอดเวลา

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของ

เว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้

เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

ไม่มีการวิเคราะห์

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรม

ร่วมสมัย รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์

และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้

จะส่งผลให้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ทั้งนี้หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

ไม่มีคุกกี้ในการแสดง

คลิกที่นี่เพื่อสนทนา Facebook Logo

บทความ

“เที่ยวหอศิลป์ร่วมสมัยฯ วิถีใหม่ แบบ 360 องศา” หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน Ratchadamnoen Contemporary Art Center

#เล่าเรื่องร่วมสมัย

“เที่ยวหอศิลป์ร่วมสมัยฯ วิถีใหม่แบบ 360 องศา” หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน Ratchadamnoen Contemporary Art Center
ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน ใกล้กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีบทบาทในการเป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะให้กับเด็ก เยาวชน ตลอดจนประชาชนที่สนใจ และยังเป็นสถานที่บ่มเพาะศิลปินรุ่นใหม่ ใช้เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการศิลปะและสร้างสรรค์กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศิลปะร่วมสมัยทุกแขนงอีกด้วย

ย้อนไปในอดีต สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ เสด็จกลับจากประพาสยุโรป พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างถนนราชดำเนินขึ้น ในปี พ.ศ. 2442 มีลักษณะเป็นถนนขนาดใหญ่ตามแบบยุโรปที่เรียกว่า อเวนิว (Avenue) คือมีถนนอยู่ตรงกลาง ด้านข้างทั้งสองฝั่งขนาบด้วยทางเท้าและปลูกไม้ยืนต้นตลอดสองข้างทางแลดูสวยงามร่มรื่น จึงนับเป็นถนนที่สวยงามที่สุดในยุคสมัยนั้น ต่อมาได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขึ้นที่บริเวณกลางสี่แยกถนนราชดำเนินกลางตัดกับ ถนนบ้านดินสอ แขวงบวรนิเวศ ในสมัยรัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัฐบาลในสมัยนั้นจึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง โดยมีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบและดำเนินการปั้นร่วมกับลูกศิษย์ และมีพิธีก่อฤกษ์อนุสาวรีย์เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 โดยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเป็นประธานในพิธี

หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินได้เริ่มปรับปรุงโครงสร้างจากอาคารเก่าบนถนนเมื่อปี 2555โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ชั้น สำหรับชั้น 1 ตกแต่งเป็นห้องออดิทอเรียม สำหรับกิจกรรมการประชุม สัมมนา และพื้นที่จัดนิทรรศการหมุนเวียนต่างๆ ส่วนบริเวณชั้น 2 เป็นพื้นที่จัดนิทรรศการ และกิจกรรมเวิร์คช็อปที่เกี่ยวกับศิลปร่วมสมัย นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดไว้คอยบริการแก่เยาวชนและประชาชนตลอดจนนักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าเยี่ยมชม ส่วนชั้น 3 เป็นศูนย์บันดาลไทยและศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน นอกจากจะเปิดให้เข้าชมนิทรรศการภายในหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินแล้ว ที่สำคัญยังมีบริการ VIRTUAL TOUR 360 ผ่านทาง www.rcac84.com  เพื่อให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสกับบรรยากาศและนิทรรศการต่างๆที่น่าสนใจ ทั้งที่กำลังจัดขึ้นในปัจจุบันและย้อนหลังนิทรรศการต่างๆที่ผ่านมาให้ความรู้สึกราวกับอยู่ในเหตุการณ์จริงพร้อมด้วย STREAMING HISTORY วิดีโอ Streaming กิจกรรม ที่น่าสนใจซึ่งจัดขึ้นภายในหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินรวมกว่า 100 รายการ ดังนั้นหากเราต้องเว้นระยะห่าง เพื่อความปลอดภัยในสุขภาพอนามัยของทุกคน การท่องเที่ยวในโลกแห่งศิลปร่วมสมัย ด้วยรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ จึงเป็นอีกทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งในยุคสมัยนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสบรรยากาศนิทรรศการภายในหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

สามารถเข้าชมนิทรรศการต่างๆได้ทุกวันอังคารจนถึงวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00-16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ) โทร.022093734 หรือ  www.rcac84.com / http://rcac84com.beeative.codeorange.host/ThaiNight/

แชร์

บทความอื่นๆ

จากทุนทางวัฒนธรรมสู่ อัตลักษณ์ปลวกแดง “อุตสาหกรรมก้าวไกล อ่างใหญ่อู่น้ำ หวานฉ่ำสับปะรด งดงามประเพณี พันธุ์ดียางพารา ศรัทธาหลวงพ่อโพธิ์”

เรื่องสั้น ในทัศนะของ ขจรฤทธิ์ รักษา ศิลปินศิลปาธร ประจำปี 2551

Typography (ไทโปกราฟี่) คำนี้มีความหมายอย่างยิ่ง สำหรับวงการออกแบบ จากประสบการณ์ ของ ไพโรจน์ ธีระประภา ศิลปาธรสาขา เรขศิลป์ ประจำปี 2557

ฟู้ดสไตลิสต์ (Food Stylist) อาจไม่ใช่คำใหม่ สำหรับคนไทยอีกต่อไป เพราะในปัจจุบัน ฟู้ดสไตลิสต์ คือตัวแปรสำคัญ ในเทรนด์การบริโภคอาหารจานสวย ท่ามกลางกระแสความนิยมที่กำลังพุ่งสูงขึ้น ในโลกการแข่งขันของธุรกิจด้านอาหาร