ที่อยู่ปัจจุบัน
34 บากเรือ มหาชนะชัย ยโสธร 35130
เกี่ยวกับศิลปิน
นายสมยศ คำเวบุญ หรือตายศ อยู่บ้านเลขที่ 34 หมู่ 11 บ้านดงยาง ตำบลบากเรือ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร เป็นปราชญ์ชาวบ้าน อดีตเป็นผู้มีฝีมือในการแกะสลักไม้ ประตูหน้าต่างโบสถ์ หรือ วิหาร ปูนปั้นลายไทย ตามโบสถ์และวิหาร โดยได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น
ตายศมีการถ่ายทอดความรู้ในด้านการแกะสลักไม้ประตูและหน้าต่าง การปั้นปูนสดลายไทย ตามโบสถ์วิหาร แก่ลูกหลาน ด้วยฝีมือและศิลปะที่ติดตัวมา ทำให้ตายศไม่เคยหยุดที่จะศึกษาศิลปะใหม่ ๆ โดยเห็นว่าชุมชนมีไม้ไผ่ที่หลากหลายสายพันธุ์ จึงได้เกิดแนวคิดประดิษฐ์โต๊ะนั่งจากไม้ไผ่ ในช่วงระหว่างนั้นเมื่อปี 2540 ตนก็ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบากเรือ ก็หาวิธีการที่จะส่งเสริมประชาชนแปรรูปไม้ไผ่อยู่แต่ก็หมดวาระไปเสียก่อนและไม่ลงเล่นการเมืองต่อ หลังจากนั้นจึงได้รวบรวมผู้ที่สนใจภายในหมู่บ้านที่สนใจจะทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ จึงได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเป็น "กลุ่มอนุรักษ์ไผ่งาม" ขึ้นเมื่อปี 2546 และมีสมาชิกครั้งแรกจำนวน 41 คน โดยการลงหุ้นกันคนละ 100 บาทต่อหุ้น ก็ได้ดำเนินการผลิตไม้ไผ่เป็นเฟอร์นิเจอร์และของที่ระลึกจนก่อเกิดรายได้ให้กับชาวบ้านดงยาง ตกเดือนละ 90,000 ถึง 100,000 บาท แต่ด้วยกระบวนการผลิตที่ต้องคลุกคลีกับสารเคมี คือน้ำยากำจัดมอดในไม้ไผ่ จนตายศและสมาชิกจึงเปลี่ยนแนวคิดมา "ประดิษฐ์ภาพจากวัสดุธรรมชาติ" จุดก่อเกิด "ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติ" "ภาพปะติดจากวัสดุผสม" เมื่อประมาณปี 2536 ซึ่งก่อเกิดจากการใช้ชีวิตของตายศซึ่งต้องคลุกคลีอยู่กับธรรมชาติและวิถีชีวิตของชาวบ้านดงยาง มีอาชีพทำนาพอถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ก็จะมีฟางข้าวและรวงข้าวที่เกิดจากการนวดข้าวหลงเหลืออยู่มาก จึงเกิดแนวคิดลองนำฟางข้าวและรวงข้าว รวมถึงวัสดุอื่น ๆ มาผสมผสานเป็นภาพศิลปะ โดยการผสมผสานจากวัสดุหลายๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่าง ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ฟางข้าว,รวงข้าว,กาบมะพร้าว,รกมะพร้าว, ไม่ไผ่แก่ ขี้เลื้อย ใบยางพารา, ต้นหญ้า, ต้นคันมอญ, ใยบวบ, เปลือกไม้, ลำแห้ง, เปลือกข้าวโพด ฯลฯ ซึ่งวัสดุธรรมชาติเหล่านี้บางคนก็ทำปุ๋ยหมัก และบางคนเผาทิ้งไม่เห็นคุณค่า จากศิลปะที่มีในตัวเอง จึงได้ลองมาประยุกต์ทำเป็นภาพประดิษฐ์ โดยใช้ความรู้ด้านศิลปะที่มีอยู่เดิมได้ ทดลองนำฟางข้าวที่มีอยู่ตามทุ่งนาไปประดิษฐ์เป็นรูปภาพต่างๆ ตามจินตนาการณ์ของตน และลองผิดลองถูกอยู่หลายปี จนกระทั่งได้เรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับวัสดุธรรมชาติ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นฟางข้าว, ต้นข่าแห้ง,ใบเตย,ขี้เลื่อย,เปลือกข้าวโพดและอีกหลายชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติที่ทนทาน และสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นงานศิลปะได้เป็นอย่างดี จึงได้พัฒนาผลงานทางด้านงานศิลปะเรื่อยมา นอกจาก "ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติ" "ภาพปะติดจากวัสดุผสม" ที่ผลิตขึ้นตามจินตนาการณ์ของตน คติความเชื่อ ประเพณีศิลปวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น รูปวิวทิวทัศน์ต่างๆ วิถีชีวิตการทำมาหากินของชาวบ้านแล้ว ตายศยังพัฒนาผลงานให้มีความสร้างสรรค์ร่วมสมัยมากยิ่งขึ้นทำให้กลุ่มลูกค้ามีทุกเพศทุกวัยและสนใจสั่งซื้อผลงานของตนเข้ามาเป็นจำนวนมาก ตนมีรายได้จากการจำหน่ายผลงานของตนตกหลายหมื่นบาท จนได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการทำวิจัย และได้ต่อยอดความคิดในเรื่องการพัฒนาสีสันที่เกิดจากธรรมชาติ โดยนำสีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น สีเขียวจากใบเตย, สีแดงจากกระเจี๊ยบสีเหลืองจาก ขมิ้นชัน และสีม่วงจากดอกอัญชัน ฯลฯ มาผสมผสานจนก่อเกิดความสวยงาม และได้รับการรับรองมาตรฐานจากหลายหน่วยงาน นอกจากนี้ตายศยังถ่ายทอดองค์ความรู้โดยเปิดสอนงานศิลปะให้กับผู้ที่สนใจฟรีด้วย โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่สนใจ ก็สามารถที่จะไปเรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้วยตนเองได้ ตายศยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้ให้โดยไม่หวงแหน และสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้ไปหาเลี้ยงชีพตนเองได้เลย
เพศชาย
วันเกิด13 กันยายน 1958
เบอร์โทรศัพท์0912740097