บทความ

ลายบาติกร่วมสมัย ต่อยอด “ลมหายใจแห่งศิลปะบนผืนผ้า” เสน่ห์จากงานศิลปะบน ผืนผ้าอันเกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในแต่ละท้องถิ่น มีแบบอย่างให้ชื่นชมอย่างตระการตา

#เล่าเรื่องร่วมสมัย

ลายบาติกร่วมสมัย ต่อยอด “ลมหายใจแห่งศิลปะบนผืนผ้า” เสน่ห์จากงานศิลปะบนผืนผ้าอันเกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในแต่ละท้องถิ่น มีแบบอย่างให้ชื่นชมอย่างตระการตา เช่น ผ้าบาติก หรือปาเต๊ะ ที่เป็นสายธารวัฒนธรรมแห่งภูมิปัญญาพื้นบ้านของชุมชนในแถบจังหวัดภาคใต้ ที่สะท้อนตัวตนอันเป็นเอกลักษณ์ด้วยเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ ซึ่งหากเราสังเกตก็จะเห็นได้อย่างเด่นชัด ถึงความงดงามประณีตของลวดลายบนผืนผ้าเฉกเช่นงานจิตรกรรมที่สะท้อนมุมมองของทิวทัศน์อันสวยงามตามธรรมชาติลงบนผืนผ้าใบ และในบางขณะก็สะท้อนภาพวิถีวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกเรื่องราวความเป็นมาของผู้คน ผ่านรอยเทียนที่หยดลงจากปลายจันติ้ง (ปากกาเขียนเทียน) และริ้วพู่กันที่ตวัดวาดลวดลายแต่งเติมสีสันความมีชีวิตชีวา เพื่อเกื้อกูลลมหายใจแห่งศิลปะลงบนผืนผ้า ในทุกขั้นทุกตอนอย่างพิถีพิถัน ลวดลายที่สวยสด งดงาม สีสันสะดุดตาเหล่านี้ ล้วนเป็นผลิตผลจากต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรม โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้ดำเนินโครงการพัฒนางานศิลปะบนผืนผ้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่นานาชาติ ณ จังหวัดกระบี่ ระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมาเพื่อเผยแพร่ภาพลักษณ์ของประเทศไทยผ่านงานวัฒนธรรมสู่เวทีโลก เป็นการนำเอาองค์ความรู้ด้านการออกแบบลายผ้าไทยที่มีอยู่ในชุมชนดั้งเดิมมาพัฒนาต่อยอดให้ตกผลึกความคิด ผสมผสานความรู้และเทคนิคสมัยใหม่ด้านการออกแบบลายผ้าจากดีไซน์เนอร์ ศิลปินร่วมสมัยและนักออกแบบผู้มีชื่อเสียง 2 ท่านได้แก่ นายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข และนายทรงวุฒิ ทองทั่ว ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะคลองประสงค์ /กลุ่มอ่าวลึกบาติก และกลุ่มบากันบาติก จนเกิดการสร้างสรรค์ลวดลายร่วมสมัยทั้งสิ้น 16 ลาย ได้แก่ ลายดอกไม้แห่งมิตรภาพ ลายดอกไม้แห่งความรัก ลายไก่ขัน ลายเขาขนาบน้ำและลายบ้านเกาะกลาง เป็นต้น

โดยที่ผ่านมาได้จัดนิทรรศการ“การออกแบบลายผ้าร่วมสมัยและผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่นานาชาติณ จังหวัดกระบี่” ขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561 – 28 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน จังหวัดกระบี่ และระหว่างวันที่ 15 – 30 เมษายน 2562 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เป็นสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาและต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมของตนเอง ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายให้แก่ชุมชนเพิ่มมากขึ้น กลุ่ม “ผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะคลองประสงค์” อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติสึนามิ เมื่อปี 2547 ต่อมานางประจิม เล็กดำ มีแนวความคิดที่จะสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่กลุ่มสมาชิก โดยการฟื้นฟูและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกแบบลวดลาย เช่น ลายกนก ลายเบญจรงค์ ลายกุหลาบมอญ ลายกุหลาบหิน ลายกล้วยไม้ ลายลูกสน และอีกนับสิบลาย แบ่งหน้าที่การผลิตกระจายลงไปในแต่ละหมู่บ้าน จำหน่ายให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จนกระทั่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและได้รับคัดเลือกให้เป็นสินค้า“หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์”ระดับสี่ดาวของจังหวัดกระบี่จนกระทั่งถึงปัจจุบัน นับเป็นความสร้างสรรค์อันลงตัวที่ไม่เกินไปกว่าจินตนาการ ทุกครั้งที่ผลิตภัณฑ์ต่างๆของชุมชนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ตราประทับแห่งความภาคภูมิใจจะถูกจารึกลงในคุณค่าของงานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นต่อๆไปด้วยความรักในงานศิลปะและจิตวิญญาณของชุมชน อย่างไม่รู้จบ

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://ocac.go.th/?3d-flip-book=batik และเฟซบุ๊กผ้าปาเต๊ะกระบี่

แชร์

บทความอื่นๆ

จากทุนทางวัฒนธรรมสู่ อัตลักษณ์ปลวกแดง “อุตสาหกรรมก้าวไกล อ่างใหญ่อู่น้ำ หวานฉ่ำสับปะรด งดงามประเพณี พันธุ์ดียางพารา ศรัทธาหลวงพ่อโพธิ์”

ลายบาติกร่วมสมัย ต่อยอด “ลมหายใจแห่งศิลปะบนผืนผ้า” เสน่ห์จากงานศิลปะบนผืนผ้าอันเกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในแต่ละท้องถิ่น

“เที่ยวหอศิลป์ร่วมสมัยฯ วิถีใหม่ แบบ 360 องศา” หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน Ratchadamnoen Contemporary Art Center

ลายบาติกร่วมสมัย ต่อยอด “ลมหายใจแห่งศิลปะบนผืนผ้า” เสน่ห์จากงานศิลปะบน ผืนผ้าอันเกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยในแต่ละท้องถิ่น มีแบบอย่างให้ชื่นชมอย่างตระการตา