บทความ

คลิปอาร์ต (Clip art) เป็นคำสากลที่รู้จักกันดีในแวดวงกราฟิก

#ร่วมสมัยวันละคำ

คลิปอาร์ต (Clip art) เป็นคำสากลที่รู้จักกันดีในแวดวงกราฟิก ซึ่งต่างประเทศนิยมใช้กันมานาน ส่วนในบ้านเราล่าสุดได้มีกลุ่มศิลปินนักออกแบบชาวไทย ในโครงการ ‘100 แรงบันดาลไทย’ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้ร่วมกันสร้างคลังกราฟิกแบบ Clip Art ด้วยสไตล์ไทยๆ เพื่อให้คนไทยได้ดาวโหลดไปใช้งานกันฟรีๆ โดย ผศ.ธีรวัฒน์ พจน์วิบูลย์ศิริ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัน หนึ่งในทีมนักออกแบบ กล่าวว่า คลิปอาร์ต (Clip art) หมายถึง ไฟล์สำเร็จรูปในคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Vector เป็นไฟล์ที่ใช้ในโปรแกรม adobe ชื่อว่า adobe illustrator เป็นไฟล์ที่ประกอบไปด้วยจุดเล็กๆที่ไม่ใช่สี่เหลี่ยม เป็นจุดรอบรูปเหมือนที่เราเคยเล่นตอนเด็ก ๆ Clip art ทำได้ง่ายสำหรับคนที่มีพื้นฐานการทำโปรแกรม Photoshop หรือ illustrator เพียงถ่ายรูปแล้วมานำมาปรับสีโดยใช้โปรแกรม Photoshop จากนั้นนำมาเปิดด้วยโปรแกรม illustrator ใช้คำสั่ง Image trace ก็สามารถปรับภาพดังกล่าวให้กลายเป็น Vector ไฟล์ เวลาที่เรานำไปย่อหรือขยาย ก็จะสามารถทำได้โดยไม่จำกัด ต่างจากไฟล์ภาพที่เราถ่ายมาด้วยกล้องปกติ เวลานำมาขยายยิ่งขยายใหญ่มากขึ้นเท่าไร ภาพก็จะยิ่งแตก ประโยชน์ของ Vector และ Clip art ต่างชาตินิยมใช้มานานแล้ว เพื่อการเก็บข้อมูลในเรื่องของลวดลายต่าง ๆ ในแต่ละประเทศ โดยในอดีตใช้วิธีสเก็ตภาพเป็นลายเส้นจัดทำเป็นเล่ม ซึ่งถือเป็นการถอดแบบด้วยมือ ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท เราจึงเรียนรู้ในการทำขึ้นเองจากภาพที่เราไปถ่ายมา เช่น ลวดลาย กนก ลายปูนปั้น และภาพแกะสลัก ภาพวาดตามวัดต่าง ๆ ก็สามารถนำมาเข้าโปรแกรม Photoshop และ illustrator ให้กลายเป็นแบบ Vector ที่เราสามารถเปลี่ยนสีหรือสร้างสรรค์ได้ตามความชอบ สำหรับใครที่มีธุรกิจหรือกิจกรรมของชุมชน ก็สามารถนำ Vector เหล่านี้มาใช้เป็นลวดลายประกอบได้ เช่น สมมติเราจะทำแบรนด์สินค้า เราสามารถเขียนด้วยพู่กันและใช้วิธีการ Trace ให้กลายเป็นโลโก้ แล้วนำมาประกอบกับภาพวาดที่เตรียมไว้ ก็สามารถทำเป็น Vector ใช้ต่อยอดทำเป็นแบบเสื้อ หรือฉลากสินค้าได้หมด และสามารถสร้างรายได้จากสิ่งนี้

สำหรับผู้ที่สนใจทำ คลิปอาร์ต หรือการสร้าง Vector ต่าง ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในรายการ “เพลินศิลป์ร่วมสมัย” ชุดความรู้กราฟิกดีไซน์ในชิวิตประจำวัน ตอน คลิปอาร์ต เครื่องมือเล็ก-อานุภาพใหญ่ ทางเฟซบุ๊กของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และหากต้องการศึกษาตัวอย่างเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ในเพจ Ziem Life หรือ @100RBDT จะมีตัวอย่างการใช้ Vector มาทำเป็นงานออกแบบให้ได้ศึกษาเป็นความรู้อีกหลายประเภทเลยทีเดียว

แชร์

บทความอื่นๆ

จากทุนทางวัฒนธรรมสู่ อัตลักษณ์ปลวกแดง “อุตสาหกรรมก้าวไกล อ่างใหญ่อู่น้ำ หวานฉ่ำสับปะรด งดงามประเพณี พันธุ์ดียางพารา ศรัทธาหลวงพ่อโพธิ์”

การท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษด้านต้นทุนทางวัฒนธรรม โดย ชุมชนคนรักษ์มะพร้าวตะเคียนเตี้ย

เรื่องสั้น ในทัศนะของ ขจรฤทธิ์ รักษา ศิลปินศิลปาธร ประจำปี 2551

“เที่ยวหอศิลป์ร่วมสมัยฯ วิถีใหม่ แบบ 360 องศา” หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน Ratchadamnoen Contemporary Art Center